ด้วยสถานการณ์ป่าไม้ในปัจจุบัน มีการใช้ทรัพยากรป่าไม้เป็นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ อย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการเสื่อมโทรมลงและลดลงของพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมเพื่อให้การดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรวมทั้งเพื่อสนับสนุนภารกิจหน่วยงานในพื้นที่ในการป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้และการใช้ข้อมมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารเพื่อวินิจฉัยสั่งการให้ทันต่อสถานการณ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาแล้ว จึงเห็นให้มีคำสั่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 512/2552 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภูมิสารสนเทศ ณ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ จำนวน 4 ศูนย์ ดังต่อไปนี้

  1. ศูนย์ปฏิบัติการภูมิสารสนเทศ (สุราษฎร์ธานี) ที่ตั้ง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) ถ.กาญจนาภิเษก ต.บางกุ้ง อ.เมืองจ.สุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84000 เป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือดูแลข้อมูลข่าวสารสนเทศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ภาคใต้ ซึ่งรับผิดชอบจังหวัดสุราษฏร์ธานี ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และตรัง
  2. ศูนย์ปฏิบัติการภูมิสารสนเทศ (อุบลราชธานี) ที่ตั้ง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) เลขที่ 189 ถ.แจ้งสนิท ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34000 เป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือดูแลข้อมูลข่าวสารพื้นที่อนุรักษ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งรับผิดชอบจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ เลย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย สกลนคร และนครพนม
  3. ศูนย์ปฏิบัติการภูมิสารสนเทศ (ตาก) ที่ตั้ง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก) ต.ป่ามะม่วง อ.เมือง จ.ตาก รหัสไปรษณีย์ 63000 เป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือดูแลข้อมูลข่าวสารสนเทศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งรับผิดชอบจังหวัดพิษณุดลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร อุทัยธานี พิจิตร ตาก และสุโขทัย
  4. ศูนย์ปฏิบัติการภูมิสารสนเทศ (เชียงใหม่) ที่ตั้ง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) เลขที่ 153 ถ.เจริญประเทศ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50100 เป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือดูแลข้อมูลข่าวสารสนเทศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ภาคเหนือตอนบน ซึ่งรับผิดชอบจังหวัดแพร่ ลำปาง น่าน เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน

1. รับผิดชอบศูนย์ปฏิบัติการภูมิสารสนเทศระดับภูมิภาค ดูแลและพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ข้อมูลข่าวสารพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ที่รับผิดชอบและระบบงานตามภารกิจ

2. จัดทำมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล คำอิบายข้อมูล (Metadata) พัฒนาต้นแบบสารสนเทศระดับพื้นที่ และจัดทำคู่มือการดำเนินงานระดับพื้นที่

3. ศึกษา วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลสารสนเทศ ด้านการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการเตือนภัยพิบัติ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์

4. ส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศด้านพื้นที่ป่าอนุรักษ์หน่วยงานทุกระดับในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าอนุรักษ์

5. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ตั้งอยู่ที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) เลขที่ 153 ถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50100 ดูแลรับผิดชอบช่วยเหลือหน่วยงานในเขตภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน

แผนปฏิบัติราชการ อส.เรื่องที่ 1 อนุรักษ์ ปกป้องรักษา และฟื้นฟูพื้นที่ป่าอนุรักษ์
เป้าหมายอนุรักษ์ คุ้มครอง ปกป้องรักษา และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอย่างมีประสิทธิภาพให้มีสภาพสมบูรณ์
แนวทางพัฒนา1. คุ้มครอง ปกป้องรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์ด้วยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
2. อนุรักษ์และปกป้องพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
3. การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
4. รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
5. ส่งเสริมบทบาทภาคป่าไม้ในการช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก
6. คุ้มครอง สงวน ฟื้นฟู และรักษาทรัพยากรสัตว์ป่า
ตัวชี้วัด1. พื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้รับการบริหารจัดการ
2. พื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้รับการประกาศตามกฎหมาย
3. การกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ลดลง (เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง)
4. พื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้รับการปลูกฟื้นฟูเพิ่มขึ้น
5. ชุมชนต้นแบบร่วมดำเนินกิจกรรมสนับสนุนการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์ และเพิ่มการดูดกลับโดยผ่านบทบาทของการอนุรักษ์ และฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้
6. มีแผนที่แสดงแนวเขตป่าอนุรักษ์ที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ
7.จำนวนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่อยู่ในกระบวนการขอรับการรับรองในระดับนานาชาติ
8. ชนิดของสัตว์ป่าได้รับการสงวนและคุ้มครอง
9. ปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ผลผลิต/โครงการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้รับการบริหารจัดการฐานข้อมูลพื้นที่ป่าอนุรักษ์
กิจกรรมกิจกรรมอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาป่าไม้ กิจกรรมพัฒนาภูมิสารสนเทศกิจกรรมศูนย์ข้อมูลและเตือนภัยพิบัติในพื้นที่ป่าอนุรักษ์